บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2010

เจาะนิ่มๆกับเอกเทศสัญญา

รูปภาพ
...................เอกเทศสัญญาอยู่ในบรรพที่ 3 ซึ่งเป็น 1 ใน 6 บรรพของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เรียนที่ มสธ.ไม่มีวิชาที่ชื่อว่าเอกเทศสัญญานะครับ ซึ่งเค้าจะแยกเป็นกฎหมายพาณิชย์ 1,2,3 และ4 ว้าวบรรพเดียวเรียนตั้ง 4 ชุดวิชาแน่ะ ครับเนื้อหาของเอกเทศสัญญาค่อนข้างเยอะมาก เรามาทำความรู้จักเอกเทศสัญญาพอคร่าวๆครับ ผมจะไม่ลงลึกมาก ( เพราะกลัวหนังสือหลายเล่มขายไม่ออก อิอิ ) เพราะก็จะได้ลงรายละเอียดไว้ตามบทความวิชาเรียนของ มสธ. แล้วครับ เอาล่ะเรามาลุยกันเลยครับพี่น้อง .......เอกเทศสัญญา แบ่งเป็น 23 ลักษณะ (ลักษณะที่ 23 เรื่องสมาคมยกเลิกไปแล้ว) ดังนี้ครับ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ตั๋วเงิน หุ้นส่วน - บริษัท สมาคม กฎหมายพาณิชย์ 1 ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ประกอบด้วยวิชา ซื้อขาย แลกเปลี่ยน และให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ( เพิ่มเติม ) กฎหมายพาณิชย์ 2 ยืม ฝากทรัพย์

กฎหมายแพ่งแบบรวมมิตร

รูปภาพ
ความหมายของคดีแพ่ง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย ตั้งแต่คลอดและรอดชีวิตจน และจะสิ้นสุดลงเมื่อเสียชีวิต ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งเป็นทั้งหมด 6 บรรพ โดยจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของ หนี้ เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก หลักและความสำคัญของกฎหมายแพ่ง เป็นพื้นฐานในการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นกฎหมายเอกชนที่ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล หลักกฎหมายแพ่งว่าด้วยบุคคล ความหมายของคำว่าบุคคล คือ มนุษย์ที่มีจิตใจ สิทธิหน้าที่และเสรีภาพตามกฎหมาย ประเภทของบุคคล บุคคลธรรมดา เป็นบุคคลที่มีชีวิตจิตใจ เริ่มต้นสภาพเมื่อคลอดแล้วรอดชีวิต สิ้นสภาพเมื่อเสียชีวิตหรือหายสาบสูญ นิติบุคคล เป็นบุคคลที่ไม่ใช่มนุษย์ แต่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ เริ่มต้นสภาพเมื่อจดทะเบียน สิ้นสภาพเมื่อเลิกกิจการหรือล้มละลาย ความสามารถของบุคคล บุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถ ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่รู้ผิดชอบชั่วดี มีอายุไม่เกิน 15 ปี ผู้ดูแลคือผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้ไร้ความสามารถ คือ บุคคลที่มีความบกพร่องทางสมอง มีผู้ดูแลคือผู้อนุบาล ผู้เสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลที่ม

การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 บัญญัติว่า "ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่ง เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด" หลักเกณฑ์การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย 1. มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย 2.ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง 3.ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายนั้น 4. การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต การป้องกันเกินขอบเขต มี 2 กรณี คือ 1. การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ 2. การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ประกอบด้วยหลัก 1. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย นั้น ด้วยวิถีทางน้อยที่สุดเท่าที่จำต้องกระทำ หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีวิถีทางน้อยที่สุด และ 2. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันโดยได้สัดส่วนกับภยันตราย หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีสัดส่วน ..............ผู้ตายใช้เท้าถีบรถจักรยานยนต์ของจำเลยจนล้มลงแ

เขียนตอบวิชากฎหมายให้ได้คะแนน

รูปภาพ
การตอบข้อสอบกฎหมาย ............ สำหรับการเขียนตอบข้อสอบกฎหมายของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นค่อนข้างจะเหมือนกัน แต่ข้อสอบนั้นต่างกัน เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ( ออกปรนัย 60 ข้อ อัตนัย 3 ข้อ คะแนนแบ่ง 50:50 ),มหาวิทยาลัยรามคำแหง ( ออกอัตนัยทั้งหมด 4 ข้อ อุทธาหรณ์ 3 ข้อ และบรรยาย 1 ข้อ คะแนนข้อละ 25 คะแนน ) เป็นต้น โดยรวมแล้วข้อสอบกฎหมายก็เป็นข้อเขียนกันทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนในการนำข้อกฎหมายที่เรียนมาปรับวินิจฉัยให้เข้ากับโจทย์ที่กำหนดให้ ในที่นี้จะกล่าวเพียงข้อสอบแบบอัตนัยเท่านั้นครับ คือข้อสอบแบบบรรยาย และแบบอุทธาหรณ์ (ตุ๊กตา) หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้สนใจนะครับ.... ---------- ข้อสอบแบบบรรยาย แยกได้ 3 รูปแบบ คือ 1. ข้อสอบบรรยาย โดยให้เพียงอธิบายเท่านั้น 2. ข้อสอบบรรยาย โดยให้มีการเปรียบเทียบ - ให้อธิบายก่อนว่าสิ่งที่ต้องเปรียบเทียบนั้นแต่ละสิ่งมีลักษณะอย่างไร - ให้เปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างของสิ่งที่คำถามให้เปรียบเทียบ 3. ข้อสอบบรรยาย โดยให้มีการวิเคราะห์ - ต้องอธิบายเรื่องที่โจทย์ถามมาก่อน

การตอบข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ

รูปภาพ
การตอบข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ โดยท่านอาจารย์รชฎ เจริญฉ่ำ การตอบข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง นับว่าเป็นกรณีที่ยากมาก เพราะแนวความคิดเห็นมักจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทั้งผู้ศึกษาจึงต้องติดตามปัญหาใหม่ ๆ อยู่เสมอ ๆ จะละทิ้งปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้เป็นอันขาด การตอบข้อสอบกฎหมาย ต้องยึดหลักกฎหมายเป็นสำคัญ แนวความคิดเห็นเป็นเพียงประกอบหลักกฎหมายเท่านั้น ถ้าหลักกฎหมายแม่นยำดีแล้ว ก็จะสามารถตอบข้อสอบได้ถูกต้องดีเอง เพราะคำถามต่าง ๆนั้น ต้องอาศัยหลักกฎหมายเป็นสำคัญ และมีแนวของหลักกฎหมายของทุกจุดของคำถามอยู่ในตัว แล้วแต่ว่าผู้ตอบ จะอ่านพบ แนวความคิดเห็นนั้นเพียงใด ถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแต่ละคำ มีความหมาย ที่จะต้องจดจำได้ถูกต้อง และเขียนตอบโดยใช้ถ้อยคำเหล่านั้น การแต่งข้อความใหม่ทำให้ข้อความผิดพลาดไปเป็นอย่างอื่นได้ และได้คะแนนไม่ดีเท่าที่ควร หรือในบางครั้งอาจจะไม่ได้คะแนนเลย จึงจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังถ้อยคำของกฎหมายในการเขียนคำตอบให้มาก ๆ ในการตอบข้อกฎหมายวิธีสบัญญัติต้องอาศัยความเข้าใจและความยุติธรรม เพราะสิ่งต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นถูกต้องนั้นมากจากความเป็นธรรม ผู้ที่ตอบหลักท

กฎหมายวิธีสบัญญัติ2 วิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายล้มละลาย

รูปภาพ
จะว่าไปหาก(ตัวผมเอง)ลองจัดอันดับความผ่านยากง่ายของวิชาต่างๆในการเรียน นิติศาสตร์ที่ มสธ. วิชาหนึ่งที่น่าจะติดอันดับต้นๆก็คงหนีไม่พ้นวิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ2 วิชานี้มีสองส่วนใหญ่ๆคือ 1. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( อุทธรณ์ฎีกา และ วิธีการชั่วคราว รวมถึงบังคับคดี ) 2. กฎหมายล้มละลาย เป็นวิชาที่ไม่ได้ยากมากหรอกครับ แต่คนผ่านน้อยก็เท่านั้นเอง ( เยอะกว่ากฎหมายระหว่างประเทศ ) เป็นวิชาที่มาตราค่อนข้างเยอะครับ แต่ก็ต่อเนื่องกันอยู่เข้าใจได้ไม่ยากหากตั้งใจจริง เนื้อหาในการนำมาออกข้อสอบอัตนัย ก็มีอยู่เรื่องหลักๆดังนี้ครับ 1. การดำเนินกระบวนการพิจารณาในศาลชั้นต้น - คำฟ้อง คำให้การ - ฟ้องซ้อน - ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง ฟ้องแย้ง - การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง คำให้การ 2. อุทธรณ์ฏีกา วิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา และการบังคับคดี ( เนื้อหาเยอะมากมาย ) - การอุทธรณ์ และฏีกา - วิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา - การบังคับคดี 3. กฎหมายล้มละลาย ( ล้วนๆ )...

กฎหมายพาณิชย์4 หุ้นส่วน บริษัท

รูปภาพ
วิชากฎหมายพาณิชย์ 4 เรื่อง หุ้นส่วน บริษัท .........เป็นวิชาในกฎหมายเอกเทศสัญญา ว่าด้วยเรื่องหุ้นส่วน และบริษัท แบ่งเนื้อหาเป็น 15 หน่วย หน่วยเน้นที่ ออกข้อสอบอัตนัยบ่อยๆก็มี หน่วยที่ 2 -8 โดยมีเรื่องหลักๆ 3 เรื่อง คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีหุ้นส่วนประเภทเดียว คือหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน หมายความว่าถ้าห้างหุ้นส่วนเกิดล้มละลายและสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ไม่พอนำมาชำระหนี้ เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามารถฟ้องร้องหุ้นส่วนแต่ละคนให้นำทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้ได้ การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีฐานะเป็นคณะบุคคลมิใช่นิติบุคคลมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เดียวกับกิจการเจ้าของคนเดียว และเสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาตราที่ควรสนใจคือ นิยามข

กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน

รูปภาพ
วิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน ...............เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญวิชาหนึ่งในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนที่จะเลือกเรียนเอกเทศสัญญาก็ควรที่จะเรียนวิชานี้ก่อน โดยกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินมีหน่วยเน้นคือ หน่วยที่ 3-7,9 **ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ข้อสังเกต ทรัพย์ นอกจากหมายความรวมถึงวัตถุมีรูปร่างแล้ว จะต้องเป็นวัตถุที่อาจมีราคาและอาจถือเอาได้ด้วยตามความหมายของทรัพย์สิน **ความหมายของคำว่า “ อาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ” วัตถุ มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างจะเป็นทรัพย์และทรัพย์สินได้ก็ต่อเมื่ออาจมีราคา และอาจถือเอาได้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์หรือทรัพย์สิน ข้อสังเกต ร่างกายของมนุษย์ถ้ารวมอยู่ในส่วนของร่างกายไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่ถือว่าป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่ถ้าขาดออกหรือหลุดออกมาแล้วก็อาจเป็นทรัพย์ได้ เช่น เส้นผมหรือเล็บมือ เป็นต้น ในส่วนของศพจะเป็นทรัพย์หรือไม่นั้น ยังไม่มีข้อยุติและแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาก็ยังไม่ชัดเจน กรณีสิ