บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2010

เรียนกับ มสธ. ดีอย่างไร

รูปภาพ
# เมื่อเรียน มสธ. จบ หลัก สูตรทุกหลักสูตรที่เปิดสอน ได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก็ได้ให้การรับรองคุณวุฒิ บัณฑิต มสธ. จึงมีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับ บัณฑิตของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งอื่น ๆ ทุกประการ # เรียนด้วย ทำงานด้วย มีรายได้ นักศึกษา มสธ. สามารถประกอบอาชีพในระหว่างที่เรียนได้ # เรียนในสถาบันการศึกษาแห่งอื่นได้ในเวลาเดียวกัน นักศึกษา มสธ. สามารถศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งอื่นในเวลาเดียวกันได้ เพราะนักศึกษา มสธ. ไม่ต้องเข้าชั้นเรียนตามปกติ แต่สามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามความพร้อมและความสะดวก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพูนคุณวุฒิและช่องทางประกอบอาชีพได้กว้างขวางขึ้นเมื่อ สำเร็จการศึกษา # ประหยัด นักศึกษา มสธ. เสียค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่ำ เนื่องจากนักศึกษาสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายที่ เกี่ยวกับค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเครื่องแต่งกาย ค่าตำรา ฯลฯ # สะดวก นักศึกษา มสธ. สามารถเรียนอยู่ที่บ้านหรือที่อื่น ๆ ได้สะดวก สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก ห้องสมุด มุม มสธ. เข้ารับการสอนเสริม และสอบไล่หรือสอบซ่อม ณ สนามสอบและศูนย์บริการ การศึกษา มสธ. ใน

หนี้นอกระบบ !

รูปภาพ
ทำไมต้อง…นอกระบบ คนเรา เมื่อยามเดือดร้อนประเภทตกงาน (เพราะบริษัทใกล้ปิดตัวเช่นกันจ๊ะ) แม้แต่สุนัขยังเมินเลยครับ แหมที เมื่อก่อนเดินไปไหนมาไหนคนทักกันเกรียว แต่พอเราเดือดร้อนถามหยิบยืมเงินบ้าง คราวนี้ไปไหนมา ไหนมีแต่คนหลบหน้าหลบตา บางคนทำเป็นมองไม่เห็น ไม่ได้ยินเสียงทัก ซึ้งจริง ครับกับคำพูดที่ว่า “มี เงินเขาเรียกน้อง มีทองเขาเรียกพี่…แต่พอไม่มีแม้แต่หมายังเมิน” เศร้าครับ จึงตัดสินใจเดินเตะกระป๋อง ไปตามท้องถนน (ทำเหมือนพระเอกในมิวสิควิดีโอในรายการโทรทัศน์ตอนดึก) และแล้วฟ้าก็มาโปรด เพราะสายตาก็ไปกระทบกับป้ายที่เขียนว่า “เงินด่วน ติดต่อ โทรฯ (0X) XXX-XXXX” จะช้าอยู่ใยพระ เจ้าประทานตัวช่วยมาแล้วโทรศัพท์ไปเลย… ดอกเบี้ย…มหาโหด ความ ฝันฟูฟ่องล่องลอยอยู่ได้ไม่นานครับ เพราะเมื่อโทรศัพท์ไปติดต่อสอบถาม หัวใจที่พองโตก็ต้องห่อเหี่ยว เพราะปลายสายโทรศัพท์ตามเบอร์เงินด่วนตอบกลับมาว่า “ดอกเบี้ยร้อยละ 30 ต่อปีนะพี่…เอาปล่าว ?” เอาไงก็เอากันแล้วครับ เพราะไปหาหยิบยืมใครก็ไม่ได้ ญาติพี่น้องก็ไม่ได้ร่ำรวย หรือจะกู้ธนาคารก็ไม่มี หลักทรัพย์ เลยตัดสินใจกัดฟันกู้เงินนอกระบบแบบนี้นี่แหละเดี๋ยวค

อารยะขัดขืน ฮิตจังไม่รู้คืออะไร

รูปภาพ
ดื้อแพ่ง หรือ อารยะขัดขืน (อังกฤษ: civil disobedience) เป็นการเรียกกิจกรรมรวม ๆ ของการเคลื่อนไหวที่จะไม่กระทำตามกฎหมาย หรือ ความต้องการและคำสั่งของรัฐบาลหรือผู้อยู่ในอำนาจ โดยไม่มีการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย ในการต่อสู้กับการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และในยุโรป รวมถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวียในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดยเฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบทาสและสงครามเม็กซิกัน-อเมริก

กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับยาเสพติด

รูปภาพ
กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับผู้มีสิ่งเสพติดไว้ในครอบครอง กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งเสพติดมีอยู่หลายฉบับ แต่เนื่องจากบทลงโทษกำหนดไว้ สถานเบาซึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ค้าสิ่งเสพติดไม่กลัวเกรง ต่อการกระทำผิดรวมทั้งมีหลายหน่วยงาน ในการดำเนินการ ทำให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติ รัฐจึงได้ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง โดยร่างพระราชบัญญัต ิยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ขึ้น ดังนั้นพระราชบัญญัต ิยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงเป็นกฎหมายสำคัญในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับผู้มี สิ่งเสพติดไว้ในครอบครอง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กำหนดโทษไว้ ดังนี้ มีไว้ครอบครอง มีบางมาตราบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายไว้ว่า "ในกรณีมีเฮโรอีนไว้ในครอบ ครอง ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ทั้งนี้มิได้หมาย ความว่า ถ้ามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองไม่ถึง 20 กรัม จะตั้งข้อหาว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อ จำหน่ายไม่ได้ ถ้ามีพยานหลักฐานอื่นที่แน่นอน ก็สามารถที่จะตั้งข้อหาได้" โทษสูงสุดถึง ประหารชีวิต โทษต่ำสุดจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน

คิดให้ดีก่อนมี...ชู้ !

รูปภาพ
ความรักบันดาลความสุขให้ทุกคนเท่าๆ กัน แต่บางครั้งความรักก็นำพาความวุ่นวายและปัญหาต่างๆ มาสู่ชีวิตของเราได้ หากไม่เข้าใจกันหรือไม่ซื่อสัตย์ต่อชีวิตคู่ของตัวเอง ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ ปัญหาต่างๆ ก็ต้องใช้กฎหมายเข้ามาช่วยเหลือ ไม่เว้นแม้กระทั่งการคบ ชู้ คุณตุ๊ก-วิมลเลขา ศิริวรรณราชัย พิธีกรร่วมรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง (ช่วงกฎหมาย) และทนายความประจำสำนักงานทนายดารา ได้อธิบายกฎหมายเกี่ยวกับ "ชู้" ให้ฟังอย่างละเอียดว่า ปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าผู้ชายไปมีกิ๊กหรือมีชู้ แล้วผู้หญิงที่เป็นเมียหลวงจะเรียกร้องสิทธิได้อย่างเดียว เพราะถ้าผู้หญิงมีชู้หรือไปมีความสัมพันธ์กับชายอื่น สามีที่จดทะเบียนสมรสก็มีสิทธิเรียกร้องจากภรรยาได้เช่นเดียวกัน (แต่ถ้าคุณไม่จดทะเบียนสมรสก็หมดสิทธินะจ๊ะ) ซึ่งสิทธิในการเรียกร้องจากศาลมีอยู่ 2 แบบ คือ 1. ค่าทดแทน เราสามารถเรียกร้องฝ่ายชู้และคนของเราเองได้ ในกรณีที่คนนั้นๆ ต้องแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีหรือภรรยาของคนอื่นเขาก็ถูกเรียกร้องสิทธินี้ได้ หรือมีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา เช่น รูปถ่าย มีพยานบุคคลไปเห

กฎหมายแรงงานควรรู้

รูปภาพ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้ วันเวลาทำงาน 1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน 2 . กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์ ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์ 3 . กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน 4 . กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี 1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตคือ 181 บาท/วัน 2. ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด ทำเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ / สำหรับวันหยุดที่ได้ค่าจ้างจะได้รับเพิ่มอีก 1 เท่า ในวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน ทำงานล่

จำนำก็สำคัญ

รูปภาพ
สัญญาจำนำ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบ สังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น ตัวอย่างเช่น นาย ก กู้เงินนาย ข จำนวน 50,000 บาท เอาแหวนเพชรหนึ่งวงมอบให้นาย ข ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เรียกว่า นาย ก เป็นผู้จำนำ และนาย ข เป็นผู้รับจำนำ ผู้จำนำอาจเป็นบุคคลภายนอก เช่น ถ้าแทนที่นาย ก จะเป็นผู้ส่งมอบแหวนเพชรให้เจ้าหนี้ กลับเป็นนาย ค ก็เรียกว่า เป็นผู้จำนำ ผู้จำนำไม่จำเป็นต้องเป็นลูกหนี้เสมอไป ผู้รับจำนำต้องระวัง ผู้จำนำต้องเป็น เจ้าของทรัพย์ คือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนำ ใครอื่นจะเอาทรัพย์ของเขาไปจำนำหาได้ไม่ เพราะฉะนั้นถ้ายักยอก ยืมหรือ

ฟ้องซ้ำ (วิฯแพ่ง)

รูปภาพ
ฟ้องซ้ำ ( ป.วิแพ่ง มาตรา 148 ) หลัก 1. คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทกันมาในคดีก่อนมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้ (เป็นฟ้องซ้ำ) 1.1.คำว่า ถึงที่สุด คือ 1.1.1.เมื่อได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นที่สุด 1.1.2.เมื่อพ้นระยะอุทธรณ์หรือฏีกา หรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ คำพิพากษาที่ถึงที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงว่าคดีใดยื่นฟ้องก่อนหลัง เพราะหลักของการฟ้องซ้ำ มิได้ถือเวลาที่ยื่นฟ้องเป็นสำคัญ แต่ถือคดีถึงที่สุดเมื่อใด 2. ฟ้องซ้ำต้องเป็นคู่ความเดียวกันจึงจะต้องห้าม 2.1.คู่ความเดียวกัน แม้คดีก่อนเป็นโจทก์ แต่คดีใหม่กลับมาเป็นจำเลยก็ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน 2.2.คู่ความเดียวกัน รวมถึงผู้สืบสิทธิจากคู่ความเดิม เช่นสามีภริยา เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ผู้รับโอนทรัพย์ 2.3.แม้เป็นคู่ความเดิมแต่เข้ามาคนละฐานะ ก็ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าคู่ความเดิม เช่น คดีก่อนฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว คดีใหม่ฟ้องคดีในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม เช่นนี้ไม่ถือเป็นคู่ความเดียวกัน 3. ได้นำคดีมาฟ้องร้องกันใหม่ในประเด็นเดียวกัน ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน 3.1.เหตุอย่างเดียวกัน หมายถ

จำนองต้องระวัง

รูปภาพ
จำนอง... ก็เป็นหลักประกันหนี้อีกประการหนึ่ง จำนอง คือการที่ใครคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาอสังหาริมทรัพย์อันได้แก่ ที่ดิน บ้านเรือน เป็นต้น ไปตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง หรือนัยหนึ่ง ผู้จำนองเอาทรัพย์สินไปทำหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน เพื่อเป็นประกัน การชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้เจ้าหนี้ ผู้จำนองอาจเป็นตัวลูกหนี้เองหรือจะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ เช่น นายดำกู้เงินนาย แดง 100,000 บาท เอาที่ดินของตนเองจำนองหรือนายเหลืองซึ่งเป็นบุคคล ภายนอกเอาที่ดินจำนอง จดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินเป็นประกันหนี้ของนายดำก็ทำได้เช่นเดียวกัน เมื่อจำนองแล้วถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็มีอำนาจยึดทรัพย์ที่จำนองออก ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ และมีสิทธิพิเศษได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ธรรมดาทั่วไป กู้เงินแล้วมอบโฉนด หรือ น

ฟ้องซ้อน (วิฯแพ่ง)

รูปภาพ
ฟ้องซ้อน เป็นข้อห้ามในการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งที่สำคัญ เพราะหากคดีใดศาลวินิจฉัยว่าเป็นฟ้องซ้อนแล้ว ศาลมีอำนาจ ยกฟ้อง ได้ตั้งแต่ชั้นตรวจคำฟ้องตามมาตรา 172 วรรค 3 ประกอบมาตรา 18 วรรค 3 ถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 55 แม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หลักเรื่องฟ้องซ้อน บัญญัติไว้ใน มาตรา 173 วรรค 2(1) มาตรา 173 เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่ง สำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับ แต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ ส่งหมายนั้น นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และ ผลแห่งการนี้ (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่น และ (2) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่นการเปลี่ยนแปลง ภูมิลำเนาของจำเลยการเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่ รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคด