ข้อแตกต่างระหว่างความผิด ฐานกรรโชกทรัพย์ - รีดเอาทรัพย์ - ชิงทรัพย์

ฐานกรรโชกทรัพย์ - ข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ หรือรับว่าจะให้ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นนั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้รับผลประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินจริงๆ ก็ตาม - เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 337 ในทันที หรือในภาคหน้าก็ได้ - การใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญ ในข้อ 2 จะกระทำต่อ ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามก็ได้ รีดเอาทรัพย์ - ข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ หรือรับว่าจะให้ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์ จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นนั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้รับประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์จริงๆก็ตาม - โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ - การกระทำในข้อ 2 ทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่ สามเสียหาย ชิงทรัพย์ - เป็นการลักทรัพย์โดย ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่ว่าจะประทุษร้ายในทันที เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 339 - เป็นการกระทำต่อผู้ถูกชิงทรัพย์ โดยตรง - ผู้กระทำผิดต้องได้ทรัพย์ไป ถ้าหากไม่ได้ทรัพย์ก็เป็นความผิด ฐานพยายาม ไม่เป็นความผิดสำเร็จ เช่น กรรโชกทรัพย์และรีดเอาทรัพย์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายวิธีสบัญญัติ2 วิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายล้มละลาย

กฎหมายพาณิชย์3 การประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ตั๋วเงิน

เขียนตอบวิชากฎหมายให้ได้คะแนน