เขียนตอบวิชากฎหมายให้ได้คะแนน

การตอบข้อสอบกฎหมาย


............สำหรับการเขียนตอบข้อสอบกฎหมายของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นค่อนข้างจะเหมือนกัน แต่ข้อสอบนั้นต่างกัน เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ( ออกปรนัย 60 ข้อ อัตนัย 3 ข้อ คะแนนแบ่ง 50:50 ),มหาวิทยาลัยรามคำแหง ( ออกอัตนัยทั้งหมด 4 ข้อ อุทธาหรณ์ 3 ข้อ และบรรยาย 1 ข้อ คะแนนข้อละ 25 คะแนน ) เป็นต้น โดยรวมแล้วข้อสอบกฎหมายก็เป็นข้อเขียนกันทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนในการนำข้อกฎหมายที่เรียนมาปรับวินิจฉัยให้เข้ากับโจทย์ที่กำหนดให้ ในที่นี้จะกล่าวเพียงข้อสอบแบบอัตนัยเท่านั้นครับ คือข้อสอบแบบบรรยาย และแบบอุทธาหรณ์ (ตุ๊กตา) หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้สนใจนะครับ....
----------

ข้อสอบแบบบรรยาย แยกได้ 3 รูปแบบ คือ
1. ข้อสอบบรรยาย โดยให้เพียงอธิบายเท่านั้น
2. ข้อสอบบรรยาย โดยให้มีการเปรียบเทียบ
- ให้อธิบายก่อนว่าสิ่งที่ต้องเปรียบเทียบนั้นแต่ละสิ่งมีลักษณะอย่างไร
- ให้เปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างของสิ่งที่คำถามให้เปรียบเทียบ
3. ข้อสอบบรรยาย โดยให้มีการวิเคราะห์
- ต้องอธิบายเรื่องที่โจทย์ถามมาก่อน
- ให้วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์ถาม

การตอบข้อสอบแบบบรรยาย ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนเกริ่นนำ หรือความจำ หรือบทนำ เพื่อชักชวนให้ผู้อ่านติดตามเรื่องที่จะเขียนต่อไป หรือเพื่อให้ผู้อ่านทราบหรือรู้ภาพรวมของสิ่งที่จะอ่านต่อไป
2. ส่วนเนื้อหา ต้องอธิบายเรื่องที่โจทย์ถามให้ชัดเจน โดยยกตัวอย่างประกอบด้วย
3. ส่วนสรุป เป็นการสรุปยอดสิ่งที่ได้อธิบายมาข้างต้น


การตอบข้อสอบแบบอุทาหรณ์ (ตุ๊กตา)
มี 2 รูปแบบ คือ
1. การตอบข้อสอบแบบวางหลัก เป็นการอธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ก่อน แล้วจึงนำหลักกฎหมายมาปรับบทกับข้อเท็จจริง เพื่อวินิจฉัยหาคำตอบของปัญหา ซึ่งเหมาะสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีดังนี้


จากข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ มีประเด็นที่ต้องพิจารณา รวม………. ประเด็น ดังนี้
1. ……………………………………………………………………………
2. …………………………………………………………………………..

จากข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ มีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามประมวลกฎหมาย………………………ดังนี้
หลักที่ 1 ………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………….
หลักที่ 2 …………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
หลักที่ 3 …………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
จากข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ เมื่อปรับกับหลักกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้
กรณีที่ 1 การที่………………………………………………………………………………………

กรณีที่ 2 การที่………………………………………………………………………………………


จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………..
(ถ้าโจทย์มีหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณา ให้แยกแต่ละประเด็นให้ชัดเจน แล้วจึงสรุป)

กล่าวโดยสรุป คือ ส่วนสำคัญในการตอบข้อสอบแบบตุ๊กตา จะประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนแรก คือ การกำหนดประเด็น ซึ่งได้จากการอ่านโจทย์ แล้วแยกแยะสิ่งที่โจทย์
ต้องการให้ตอบ เพื่อจะได้ตอบให้ครบถ้วน ซึ่งในส่วนนี้อาจขึ้นต้นย่อหน้าด้วยถ้อยคำว่า

“จากข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้”

ส่วนที่สอง คือ การวางหลักกฎหมาย เมื่อกำหนดประเด็นแล้วก็ต้องแยกตอบตาม
ประเด็นต่างๆ โดยในประเด็นใหญ่นั้นต้องมีการยกหลักกฎหมายขึ้นมาอธิบาย ซึ่งในส่วนนี้อาจขึ้นต้นย่อหน้าด้วยถ้อยคำว่า

“จากประเด็นปัญหาข้างต้น มีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้”

ส่วนที่สาม คือ การปรับบทกฎหมายกับข้อเท็จจริง เพื่อวินิจฉัยว่า กรณีนั้นๆ ผลจะออกมา
เป็น ประการใด เมื่อกำหนดประเด็นแล้วก็ต้องมีการปรับบทกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริง โดยเป็นการพิจารณาว่าตามข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้มานั้น เมื่อนำกฎหมายมาใช้แล้ว ผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้อาจขึ้นต้นย่อหน้าด้วยถ้อยคำว่า

“จากข้อเท็จจริงในประเด็นที่กำหนด ประกอบกับหลักกฎหมายที่ยกมาข้างต้น
วินิจฉัยได้ว่า”

ส่วนที่สี่ คือ สรุป ส่วนนี้ต้องตอบคำถามของประเด็นที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งในส่วนนี้อาจขึ้นต้นย่อหน้า
ด้วยถ้อยคำว่า

“จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า”


2. การตอบข้อสอบแบบวินิจฉัย คือ การตอบที่ไม่ต้องวางหลักกฎหมายแยกต่างหากจากส่วนปรับบทกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการนำส่วนที่สองและส่วนที่สามของการตอบแบบวางหลัก มาผสมผสานกัน โดยมีการอธิบายหลักกฎหมายสอดแทรกเข้าไปในการวินิจฉัย ซึ่งส่วนใหญ่เหมาะสำหรับระดับเนติบัณฑิตขึ้นไป

ตัวอย่างเช่น

การที่……………………………………………………………………………………….นั้น
ประมวลกฎหมาย………………..............................................................................
วางหลักว่า…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
กรณีนี้……………………………………………………………………………… ดังนั้น ……………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………….

---------------
ข้อควรระวังในการทำข้อสอบ
1. ลายมือควรเป็นลายมือที่อ่านง่าย ไม่ต้องสวยแต่ควรเป็นระเบียบ
2. การวรรคตอนเหมาะสม ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
3. ใช้ภาษากฎหมายในการตอบ
4. ตอบเป็นลำดับ ไม่วกไปวนมา
5. ตอบตรงประเด็น ชัดเจน

.........ขอให้ทุกท่านโชคดีกับการสอบครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายวิธีสบัญญัติ2 วิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายล้มละลาย

กฎหมายวิธีสบัญญัติ3 วิธีพิจารณาความอาญา

กฎหมายพาณิชย์3 การประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ตั๋วเงิน