กฎหมายวิธีสบัญญัติ3 วิธีพิจารณาความอาญา

....................แหมๆๆ เห็นวิชานี้แล้วค่อยยิ้มออก ผมเองลงวิชานี้กับโครงการสัมฤทธิบัตรครับ ผ่านมาได้แบบชิวๆ ด้วยการได้ S แต่กระซิบเบาๆว่าผมไม่มีเวลาอ่านนะครับ แต่จะฟังเทปเสียงแล้วดูวีดีโอของรามมากกว่าครับ แต่ไม่ต้องห่วงที่ใหนๆก็เรียนเหมือนกันล่ะครับ อิอิ ก่อนที่จะลงวิชานี้ได้ผมขอแนะนำว่าท่านควรผ่านกฎหมายอาญาทั้ง 1 และ 2 มาแล้วนะครับ ไม่งั้นงงแน่ๆ เอาล่ะครับเรามาเริ่มสาธยายกันเลยครับ


วิชาวิธีสบัญญัติ3 เป็นวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื้อหาวิชาแบ่งออกเป็น 4 เรื่องหลักๆดังนี้ครับ
  1. ข้อความเบื้องต้น
  2. สอบสวน
  3. การฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง
  4. อุทธรณ์และฎีกา

เรามาเริ่มต้นรู้จักวิชานี้กันเลยครับพี่น้อง

กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

เรื่องที่ 1 ข้อความเบื้องต้น

กระบวนการยุติธรรม

ผู้เสียหาย ตาม ปวอ.มาตรา 2(4)

มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้
(4) "ผู้เสียหาย" หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจ จัดการแทนได้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6

ข้อสังเกต
1. แบ่งผู้เสียหายออกเป็น 3 ประเภท
1.1 ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งโดยตรง
1.2 ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ปวอ.มาตรา 4,5,6
1.3 ผู้เสียหายพิเศษ กรณีถูกหมิ่นประมาทแล้วตายก่อนร้องทุกข์ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ตาม ปอ.มาตรา333
2. หลักพิจารณาว่าบุคคลใดเป็นผู้เสียหายโดยตรง
2.1 มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
- ตาม ประมวลกฎหมายอาญา
- ตามกฎหมายอื่น เช่น พรบ.จราจรทางบก,อาวุธปืน,ประมง,ป่าไม้ และ ฯลฯ
2.2 มีบุคคลได้รับความเสียหาย
- บุคคล
- นิติบุคคล
2.3 บุคคลนั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
- ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
- ไม่สมัครใจเข้าวิวาท
- ไม่มีส่วนประมาท
- ไม่สมัครใจยินยอมให้ผู้อื่นกระทำความผิด
- ไม่ใช่บุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ให้ผู้อื่นกระทำความผิด
3.ลักษณะความผิดทางอาญามี 2 ประเภท
3.1 ความผิดอาญาแผ่นดิน (ความผิดอันยอมความมิได้)
3.2 ความผิดต่อส่วนตัว (ความผิดอันยอมความได้ ดูตามท้ายหมวดของแต่ละหมวด)

ผู้เสียหาย ทั้งความผิดอาญาต่อแผ่นดิน และความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายจะฟ้องร้องโดยไม่ร้องทุกข์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นความผิดต่อส่วนตัว ต้องฟ้องภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องหรือผู้กระทำความผิด ตาม ปอ.96 (ฎ.122/2528)

ก่อนอื่นเรามาดูก่อนว่าความผิดอะไรบ้างที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน และความผิดต่อส่วนตัว

หลักการแบ่งว่าความผิดใดเป็นความผิดอาญาแผ่นดินหรือความผิดต่อส่วนตัว จะต้องบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่ายอมความกันได้
เช่น ปอ.มาตรา 276 วรรคแรก (เป็นเรื่องข่มขืนกระทำชำเรา)
ปอ.มาตรา 281 การกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก และ มาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการ กระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ใน มาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้ เป็นต้น

แต่ถ้าไม่ได้มีการบัญญัติไว้ ให้สรุปได้เลยว่าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินทั้งสิ้น


ฐานความผิดที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว (ยอมความได้) ถ้านอกจากนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน
1. ความผิดเกี่ยวกับเพศบางมาตรา ( ปอ.มาตรา 281 )
2. ความผิดฐานทำให้เสียสิทธิเสรีภาพ ( ปอ.มาตรา 321 )
3. ความผิดฐานเปิดเผยความลับ ( ปอ.มาตรา 325 )
4. ความผิดฐานหมิ่นประมาท ( ปอ.มาตรา 333 )
5. ความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์
- ฉ้อโกง ( ปอ.มาตรา 348 )
- โกงเจ้าหนี้ ( ปอ.มาตรา 351 )
- ยักยอก ( ปอ.มาตรา 356 )
- ทำให้เสียทรัพย์ ( ปอ.มาตรา 361 )
- บุกรุก ( ปอ.มาตรา 366 )
6. ความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดการใช้เช็ค

ดังนั้นความผิดลหุโทษจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดินด้วย

ความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ( เอกชนเป็นผู้เสียหายไม่ได้ )
1. ความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก
2. ความผิดตาม พรบ.อาวุธปืนฯ
3. ความผิดฐานฐานขัดขืนหมาย หรือคำสั่งศาล
4. ความผิดฐานทำลายพยานหลักฐาน ตาม ปอ.มาตรา 199
5. ความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอก ตาม ปอ.มาตรา 147
6. ความผิดตาม พรก. การ้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
7.ความผิดตาม พรบ. เล่นแชร์
8. ความผิดตาม พรบ. ศุลกากรฯ และ พรบ. ให้บำเหน็จในการปราบปราม


เดี๋ยวมาต่อครับ...


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายวิธีสบัญญัติ2 วิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายล้มละลาย

กฎหมายพาณิชย์3 การประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ตั๋วเงิน