การตอบข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ



การตอบข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ
โดยท่านอาจารย์รชฎ เจริญฉ่ำ

การตอบข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง นับว่าเป็นกรณีที่ยากมาก เพราะแนวความคิดเห็นมักจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทั้งผู้ศึกษาจึงต้องติดตามปัญหาใหม่ ๆ อยู่เสมอ ๆ จะละทิ้งปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้เป็นอันขาด

การตอบข้อสอบกฎหมาย ต้องยึดหลักกฎหมายเป็นสำคัญ แนวความคิดเห็นเป็นเพียงประกอบหลักกฎหมายเท่านั้น ถ้าหลักกฎหมายแม่นยำดีแล้ว ก็จะสามารถตอบข้อสอบได้ถูกต้องดีเอง เพราะคำถามต่าง ๆนั้น ต้องอาศัยหลักกฎหมายเป็นสำคัญ และมีแนวของหลักกฎหมายของทุกจุดของคำถามอยู่ในตัว แล้วแต่ว่าผู้ตอบ จะอ่านพบ แนวความคิดเห็นนั้นเพียงใด

ถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแต่ละคำ มีความหมาย ที่จะต้องจดจำได้ถูกต้อง และเขียนตอบโดยใช้ถ้อยคำเหล่านั้น การแต่งข้อความใหม่ทำให้ข้อความผิดพลาดไปเป็นอย่างอื่นได้ และได้คะแนนไม่ดีเท่าที่ควร หรือในบางครั้งอาจจะไม่ได้คะแนนเลย จึงจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังถ้อยคำของกฎหมายในการเขียนคำตอบให้มาก ๆ



ในการตอบข้อกฎหมายวิธีสบัญญัติต้องอาศัยความเข้าใจและความยุติธรรม เพราะสิ่งต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นถูกต้องนั้นมากจากความเป็นธรรม ผู้ที่ตอบหลักทางปฏิบัติโดยยึดหลักความเป็นธรรมเป็นเกณฑ์แล้ว มักจะตอบถูกเสมอ และได้คะแนนดี

ความเป็นธรรม จึงอยู่ในจิตใจนั้นเอง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นที่จะต้องวินิจฉัย หลักที่ถูกต้องคือหลักที่มาจากความเป็นธรรมตามธรรมชาตินั้นเอง ถ้ายึดหลักนี้ไว้ ให้มั่นคง จะใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ขวางหน้าได้ทั้งหมด เพราะการแก้ปัญหากฎหมายก็คือการแก้ด้วยความเป็นธรรมนั่นเอง

โดยอาจารย์จิต(รชฎ) เจริญฉ่ำ (หนังสือถามตอบ ป.วิแพ่ง )

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายวิธีสบัญญัติ2 วิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายล้มละลาย

กฎหมายวิธีสบัญญัติ3 วิธีพิจารณาความอาญา

กฎหมายพาณิชย์3 การประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ตั๋วเงิน