กฎหมายพาณิชย์4 หุ้นส่วน บริษัท



วิชากฎหมายพาณิชย์ 4 เรื่อง หุ้นส่วน บริษัท

.........เป็นวิชาในกฎหมายเอกเทศสัญญา ว่าด้วยเรื่องหุ้นส่วน และบริษัท แบ่งเนื้อหาเป็น 15 หน่วย หน่วยเน้นที่ ออกข้อสอบอัตนัยบ่อยๆก็มี หน่วยที่ 2 -8 โดยมีเรื่องหลักๆ 3 เรื่อง คือ
  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  3. บริษัทจำกัด

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีหุ้นส่วนประเภทเดียว คือหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน หมายความว่าถ้าห้างหุ้นส่วนเกิดล้มละลายและสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ไม่พอนำมาชำระหนี้ เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามารถฟ้องร้องหุ้นส่วนแต่ละคนให้นำทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้ได้

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีฐานะเป็นคณะบุคคลมิใช่นิติบุคคลมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เดียวกับกิจการเจ้าของคนเดียว และเสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

มาตราที่ควรสนใจคือ

  1. นิยามของห้างหุ้นส่วนสามัญ มาตรา 1025****, 1050****
  2. ทรัพย์สินที่นำมาลงหุ้น มาตรา 1026*, 1027**, 1028 * และดูไปถึงการเอาทรัพย์สินมาให้ใช้ในการลงหุ้น มาตรา 1029 และการให้กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินในการลงหุ้น มาตรา 1030
  3. ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตน ตามมาตรา 1031* ให้สังเกตคำว่า “ไม่ส่งมอบเสียเลย” แปลว่าถ้าส่งมอบเพียงบางส่วนก็ไม่สามารถเอาหุ้นส่วนคนนั้นออกได้
  4. การห้ามเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมหรือประเภทกิจการ ตามมาตรา 1032**
  5. การจัดการห้างหุ้นส่วน มาตรา 1033**, 1034, 1035**, 1036 (เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างมาตรา 1033 และมาตรา 1035)
  6. สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วน ตามมาตรา 1037
  7. ข้อห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอันมีสภาพดุจเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับห้าง มาตรา 1038**** (ดูเปรียบเทียบกับมาตรา 1066****, 1067**** ในเรื่องห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมาตรา 1090 เรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัด และมาตรา 1168 ในเรื่องบริษัทจำกัด) ออกข้อสอบบ่อยครั้ง
  8. หน้าที่ของผู้เป็นหุ้นส่วนในการจัดการงานด้วยความระมัดระวัง มาตรา 1039
  9. การชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วน ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน มาตรา 1040** (เปรียบเทียบกับมาตรา 1091 เรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัด)
  10. ผู้เป็นหุ้นส่วนโอนกำไรให้บุคคลภายนอก มาตรา 1041**
  11. การแบ่งส่วนกำไรขาดทุน มาตรา 1044***, 1045*** ระวังให้ดีอย่าสับสนในเรื่องการลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน และความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ตามมาตรา 1050
  12. สิทธิของหุ้นส่วนเรียกเอาประโยชน์ในกิจการที่ไม่ปรากฏชื่อของตน มาตรา 1048
  13. สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก มาตรา 1049** (เปรียบเทียบกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มาตรา 1068)
  14. ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว มาตรา 1051* และความรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน มาตรา 1052* (เปรียบเทียบกับมาตรา 1068 เรื่องห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล)
  15. ข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่ยังไม่ได้จดทะเบียน มาตรา 1053
  16. ผู้ที่ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน มาตรา 1054****
  17. เหตุในการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ มาตรา 1055**** (เปรียบเทียบกับห้างหุ้นส่วนสามัญบุคคลล้มละลายตามมาตรา 1069 และเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นกับหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่เลิกกันตามมาตรา 1092, 1093, 1094) + การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญตามความประสงค์ของหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง ตามมาตรา 1056**** + เหตุที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ มาตรา 1057****
  18. กรณีที่ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงทำการเป็นหุ้นส่วนต่อไปโดยปริยาย มาตรา 1059
  19. กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนรับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วน ตามมาตรา 1055 (มาตรา 1060*)
  20. การชำระบัญชีเมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ มาตรา 1061, 1062*, 1063*
สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ให้ดูเพิ่มในเรื่อง

  1. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลล้มละลาย มาตรา 1069
  2. ห้างหุ้นส่วนผิดนัดชำระหนี้ มาตรา 1070* + กรณีขอให้ศาลบังคับเอาสินทรัพย์ของห้างมาชำระหนี้ก่อน มาตรา 1071*
  3. สิทธิของเจ้าหนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะตัว มาตรา 1072 (เปรียบเทียบกับมาตรา 1095 ในการบังคับชำระหนี้กับหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด)
  4. การควบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มาตรา 1073-1076 (เปรียบเทียบกับการควบหุ้นส่วนบริษัทจำกัด)

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ
2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนนั้น
2.2 หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน หุ้นส่วนพวกนี้เท่านั้นที่จะเป็นผู้บริหารห้างหุ้นส่วนในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคลและมีหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวนอย่างน้อย 1 คน เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

มาตราที่ควรสนใจคือ
  1. นิยามของห้างหุ้นส่วนจำกัด มาตรา 1077***
  2. ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วน กรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดยังไม่ได้จดทะเบียน มาตรา 1079**
  3. การใช้ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในชื่อห้างหุ้นส่วน มาตรา 1081****, 1082****
  4. การลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วน มาตรา 1083** หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้ามลงหุ้นด้วยทุนแรงงาน
  5. การแบ่งเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด มาตรา 1084*
  6. กรณีผู้เป็นผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดแสดงต่อบุคคลภายนอกว่าลงหุ้นมากกว่าที่เป็นจริง มาตรา 1085*
  7. ข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นเมื่อเปลี่ยนแปลงประเภทของทรัพย์สินหรือลดจำนวนหุ้นที่ต้องจดทะเบียน มาตรา 1086
  8. ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด มาตรา 1087**
  9. ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วน มาตรา 1088****
  10. ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดประกอบกิจการค้าขายแข่งกับห้าง มาตรา 1090**** (เปรียบเทียบกับมาตรา 1038, 1066, 1067, 1168)
  11. การโอนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด มาตรา 1091
  12. ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นบุคคลไร้ความสามารถ มาตรา 1092, 1094
  13. การฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด มาตรา 1095** (เปรียบเทียบกับมาตรา 1072)

3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company)

เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 7 คน ผู้เริ่มก่อการตอนจดทะเบียนบริคณฑ์สนธิต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทจำนวนทุนและจำนวนหุ้นจดทะเบียน และแบ่งทุนออกเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน

บริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นในรูปของนิติบุคคลคือ ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของ คือผู้ถือหุ้น (Stockholders or Shareholders) ผู้ถือหุ้นทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น บริษัทจะให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของราคาหุ้นที่ขาย

ผู้ถือหุ้น 1 หุ้นมีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น 1 เสียง ถ้ามีหุ้นเป็นจำนวนมากจะมีสิทธ์ออกเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่นั้น ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่มีสิทธิ์เข้ามาจัดการงานของบริษัท เว้นแต่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการ เพราะการจัดการบริษัทเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทเท่านั้น ผู้ถือหุ้นได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล (Dividends) หุ้นของบริษัทจำกัดอาจเปลี่ยนมือกันได้โดยการจำหน่ายหรือโอนหุ้นให้ผู้อื่น โดยไม่ต้องเลิกบริษัท เนื่องจากผู้ถือหุ้น (เจ้าของ) ทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทจำกัด จำนวน คุณสมบัติส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจึงไม่เป็นสาระสำคัญ

บริษัทที่จดทะเบียนแล้วจะใช้คำนำหน้าว่า "บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด" ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ จะใช้คำว่า "บริษัท….….จำกัด" หรือไม่ก็ได้ บริษัทจำกัดมี 2 ประเภท คือ
1. บริษัทเอกชนจำกัด (Private Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ตามมาตรา 1096 มีผู้เริ่มก่อการไม่ต่ำกว่า 7 คน

2. บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 15 คน และต้องจองหุ้นรวมกันอย่างน้อย 5 % ของทุนจดทะเบียนแต่ละคนถือหุ้นไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จดทะเบียน และตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป/ต้องมีคำนำหน้าชื่อว่า"บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด (มหาชน)"


มาตราที่ควรสนใจคือ

หัวข้อที่ 1 การจัดตั้งบริษัทจำกัด

  1. นิยามของบริษัทจำกัด มาตรา 1096*
  2. ผู้เริ่มก่อการ มาตรา 1097*
  3. การทำหนังสือบริคณห์สนธิ มาตรา 1099
  4. ความรับผิดของกรรมการบริษัท มาตรา 1101**
  5. จำนวนหุ้นทั้งหมดซึ่งจดทะเบียน มาตรา 1104**
  6. การออกหุ้น มาตรา 1105 *และความผู้กพันผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น มาตรา 1106*
  7. การประชุมจัดตั้งบริษัท มาตรา 1107* และกิจการที่พึงกระทำในการประชุมจัดตั้งบริษัท มาตรา 1108
  8. การออกเสียงลงคะแนนของผู้เข้าร่วมก่อการ หรือผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น มาตรา 1109**
  9. การดำเนินการภายหลังการประชุมจัดตั้งบริษัท คือ การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นร้อยละ 25 มาตรา 1110***
  10. ระยะเวลาในการยื่นขอจดทะเบียน มาตรา 1112***
  11. ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัท มาตรา 1113****
  12. การฟ้องร้องขอให้ศาลเพิกถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้น มาตรา 1114*
หัวข้อที่ 2 เรื่องหุ้น
  1. หุ้นไม่สามารถแบ่งแยกได้ มาตรา 1118*
  2. การใช้เงินเป็นค่าหุ้น มาตรา 1119*
  3. กำหนดส่งเงินค่าหุ้น มาตรา 1120
  4. การเรียกเงินค่าหุ้น และกรณีไม่ส่งเงินค่าหุ้น มาตรา 1121*, 1122*,1123*
  5. การริบหุ้น มาตรา 1124*, 1125*
  6. การโอนหุ้น มาตรา 1129**** อย่าสับสนกับเรื่องการโอนตั๋วแลกเงิน
  7. ความรับผิดของผู้โอนหุ้นในเงินที่ค้างชำระ มาตรา 1132***
  8. หุ้นผู้ถือ มาตรา 1134, 1135, 1136
  9. หุ้นระบุชื่อ มาตรา 137
  10. หุ้นบุริมสิทธิ มาตรา 1142

หัวข้อที่ 3 การจัดการบริษัทจำกัด
  1. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิภายหลังการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดแล้ว มาตรา 1145***
  2. การจดทะเบียนข้อบังคับที่ตั้งใหม่หรือเปลี่ยนแปลง มาตรา 1146*
  3. กรรมการล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ มาตรา 1154 + กรณีตำแหน่งสภากรรมการว่างลง มาตรา 1155
  4. กรรมการลดลงกว่าองค์ประชุม มาตรา 1159**
  5. องค์ประชุมของกรรมการ มาตรา 1160**
  6. การมอบอำนาจให้ผู้จัดการหรืออนุกรรมการ มาตรา 1164*
  7. หน้าที่และความรับผิดของกรรมการ มาตรา 1168 ****(เปรียบเทียบกับมาตรา 1038, 1066, 1067, 1090)
  8. กรรมการทำความเสียหายให้แก่บริษัท มาตรา 1169****
  9. การกระทำของกรรมการที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ มาตรา 1170***
  10. เหตุและการเรียกประชุมวิสามัญ มาตรา 1172*, 1173*, 1174
  11. คำบอกกล่าวการเรียกประชุมใหญ่ มาตรา 1175***
  12. องค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่ มาตรา 1178****
  13. กรณีจำนวนผู้ถือหุ้นไม่ครบองค์ประชุม มาตรา 1179**
  14. การเลื่อนประชุม มาตรา 1181**
  15. การนับคะแนนเสียง มาตรา 1182*
  16. จำนวนหุ้นไม่ถึงจำนวนคะแนนที่ออกเสียง มาตรา 1183
  17. ผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน มาตรา 1184
  18. ผู้ถือหุ้นมีส่วนได้ส่วนเสียในการพิจารณา มาตรา 1185
  19. การออกเสียงลงคะแนนของผู้ทรงหุ้นชนิดผู้ถือ มาตรา 1186
  20. หนังสือมอบฉันทะ มาตรา 1188*, 1189*
  21. การลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ มาตรา 1190**
  22. การลงคะแนนโดยการชูมือ มาตรา 1191**
  23. มติพิเศษ มาตรา 1194**** สำคัญมากๆ ให้ดูด้วยว่ามีกรณีใดบ้างที่ต้องอาศัยมติพิเศษ
  24. การร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ มาตรา 1195****

หัวข้อที่ 4 การเพิ่มทุนและการลดทุน

  1. การเพิ่มทุนของบริษัท มาตรา 1220**
  2. การออกหุ้นใหม่เสมือนได้ใช้ค่าหุ้นแล้ว มาตรา 1221 (ดูคู่กับมาตรา 1108(5))
  3. หลักเกณฑ์ในการขายหุ้นใหม่ มาตรา 1222***
  4. การลดทุนของบริษัท มาตรา 1124**,1125**,1126**
  5. ความรับผิดของเจ้าหนี้ซึ่งไม่ได้คัดค้านการลดทุน มาตรา 1227*
หัวข้อที่ 5 เรื่องการเลิกบริษัท มาตรา 1236****, 1237****

หัวข้อที่ 6 การควบบริษัทจำกัด มาตรา 1238**, 1239*, 1240****, 1241*, 1242, 1243**

(ที่มา nitistou.wordpress.com )

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายวิธีสบัญญัติ2 วิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายล้มละลาย

กฎหมายวิธีสบัญญัติ3 วิธีพิจารณาความอาญา

กฎหมายพาณิชย์3 การประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ตั๋วเงิน