กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับยาเสพติด


กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับผู้มีสิ่งเสพติดไว้ในครอบครอง
กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งเสพติดมีอยู่หลายฉบับ แต่เนื่องจากบทลงโทษกำหนดไว้ สถานเบาซึ่ง
เป็นเหตุให้ผู้ค้าสิ่งเสพติดไม่กลัวเกรง ต่อการกระทำผิดรวมทั้งมีหลายหน่วยงาน ในการดำเนินการ ทำให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติ รัฐจึงได้ดำเนินการแก้ไข
ปรับปรุง โดยร่างพระราชบัญญัต ิยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ขึ้น ดังนั้นพระราชบัญญัต ิยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
จึงเป็นกฎหมายสำคัญในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับผู้มี สิ่งเสพติดไว้ในครอบครอง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กำหนดโทษไว้
ดังนี้

มีไว้ครอบครอง
มีบางมาตราบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายไว้ว่า "ในกรณีมีเฮโรอีนไว้ในครอบ ครอง ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ทั้งนี้มิได้หมาย ความว่า ถ้ามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองไม่ถึง 20 กรัม จะตั้งข้อหาว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อ จำหน่ายไม่ได้ ถ้ามีพยานหลักฐานอื่นที่แน่นอน ก็สามารถที่จะตั้งข้อหาได้" โทษสูงสุดถึง ประหารชีวิต โทษต่ำสุดจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง
500,000 บาท ความผิดคดีสิ่งเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคเคน หรือฝิ่น มีโทษ สูงสุดถึง จำคุกตลอดชีวิต ความผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เช่น กัญชา กระท่อม โทษสูงสุด คือ
จำคุก 15 ปี และโทษปรับสูงสุด 150,000 บาท

กฎหมายเกี่ยวกับผู้เสพยาเสพติด
ปัญหาเรื่องการเสพยาเสพติดแต่เดิมเป็นปัญหายุ่งยากมาก จะต้องนำสืบปราศจาก
ข้อสงสัยว่า เสพอย่างไร ที่ไหน เมื่อไร จึงให้ความหมายไว้ว่า "เสพ" หมายถึง การรับ สิ่งเสพติดเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งสามารถตรวจพบได้โดยหลัก วิทยาศาสตร์ การแพทย์ เช่นนี้จะช่วยเหลือได้มาก เมื่อจับผู้เสพได้โดยไม่มีของ กลางหรืออุปกรณ์
ในการเสพ ในการนี้แพทย์จะยืนยันได้ว่าเสพสิ่งเสพติด ชนิดนั้น ๆ สู่ร่างกายและเสพเมื่อไร แล้วศาลลง โทษได้" โทษเกี่ยวกับผู้เสพยาเสพติด ประเภท เฮโรอีน ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน ต้องระวาง โทษจำ คุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 100,000 บาท ผู้เสพกัญชา กระท่อม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายวิธีสบัญญัติ2 วิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายล้มละลาย

กฎหมายพาณิชย์3 การประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ตั๋วเงิน

กฎหมายวิธีสบัญญัติ3 วิธีพิจารณาความอาญา