อารยะขัดขืน ฮิตจังไม่รู้คืออะไร



ดื้อแพ่ง หรือ อารยะขัดขืน
(อังกฤษ: civil disobedience) เป็นการเรียกกิจกรรมรวม ๆ ของการเคลื่อนไหวที่จะไม่กระทำตามกฎหมาย หรือ ความต้องการและคำสั่งของรัฐบาลหรือผู้อยู่ในอำนาจ โดยไม่มีการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย ในการต่อสู้กับการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และในยุโรป รวมถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวียในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดยเฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบทาสและสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน
เพื่อที่จะแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจราจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่. ผู้ประท้วงมักจะได้รับการนัดแนะล่วงหน้า ว่าควรจะตอบสนองการจับกุมหรือทำร้ายร่างกายอย่างไร และจะขัดขืนอย่างเงียบ ๆ หรือไม่รุนแรง โดยไม่คุกคามเจ้าหน้าที่

คำว่า "อารยะขัดขืน"

ชัยวัฒน์ได้อธิบายไว้ว่า ได้เลี่ยงที่จะใช้คำว่า "สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย" อย่างที่สมชายใช้ เนื่องจากคำว่า "ดื้อแพ่ง" ในภาษาไทยนั้นมีความหมายในนัยไม่สู้ดี และเสนอคำว่า "อารยะขัดขืน" ซึ่งเป็นคำที่มีอคติทางลบแฝงอยู่น้อยกว่า ขณะเดียวกัน ยังเป็นคำกิริยาที่คงคุณลักษณะความเป็นคำในเชิงปฏิบัติเอาไว้
"สุดสงวน" คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารสกุลไทย ให้ความเห็นว่า การนำ "อารยะ" ซึ่งเป็นคำสันสกฤต มาสมาสหรือสนธิกับ "ขัดขืน" ซึ่งเป็นคำไทยนั้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์ทางภาษา แต่ขณะเดียวกันก็นึกไม่ออกว่าจะหาคำใดมาใช้แทนคำที่ชัยวัฒน์ใช้ได้
แก้วสรร อติโพธิ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้คำว่า อารยะ ว่าแท้จริงแล้วคำว่า civil น่าจะหมายถึงคำว่าพลเมือง และเสนอว่าน่าจะแปลเป็นไทยว่า "การแข็งข้อไม่ยอมเป็นพลเมือง"


จากวิกิพีเดีย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายวิธีสบัญญัติ2 วิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายล้มละลาย

กฎหมายพาณิชย์3 การประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ตั๋วเงิน

เขียนตอบวิชากฎหมายให้ได้คะแนน